จารย์บอย

จารย์บอย

วันจันทร์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2556

ประวัติเมืองขุขันธ์

ประวัติเมืองขุขันธ์ 
              ก่อนสมัยกรุงศรีอยุธยาความเป็นมาทางประวัติศาสตร์ของเมืองขุขันธ์ ก่อนสมัยกรุงศรีอยุธยา ไม่ปรากฏหลักฐานแน่นอน มีการจดบันทึกไว้พอสังเขป ส่วนมากได้จากคำบอกเล่าของผู้สูงอายุเล่าต่อๆ กันมา เอาความแน่นอนไม่ได้นัก นักประวัติศาสตร์และนักโบราณคดีสันนิษฐานว่า พื้นที่ภาคอีสานในปัจจุบันเคยเป็นที่อยู่ของพวกละว้าและลาว มีแว่นแคว้นอาณาเขตปกครองเรียกว่า "อาณาจักรฟูนัน"
ประมาณปี พ.ศ.1100 พวกละว้าที่เคยมีอำนาจปกครอง อาณาจักรฟูนันเสื่อมอำนาจลง ขอมเข้ามามีอำนาจแทนและตั้งอาณาจักรเจนละหรืออิศานปุระขึ้น พวกละว้าถอยร่นไปทางเหนือ ปล่อยให้พื้นที่ภาคอีสานรกร้างว่างเปล่าเป็นจำนวนมากเขตพื้นที่เมืองขุขันธ์ และจังหวัดใกล้เคียงจึงถูกทิ้งให้เป็นที่รกร้างและเป็นป่าดง ขอมได้แบ่งการปกครองเป็น 3 ภาคโดยมีศูนย์การปกครองอยู่ที่ละโว้(ลพบุรี) พิมาย(นครราชสีมา)และสกลนคร มีฐานะเป็นเมืองประเทศราช ขึ้นตรงต่อศูนย์ กลางการปกครองใหญ่ที่นครวัด
 


               ในยุคที่ขอมเรืองอำนาจ เมืองขุขันธ์น่าจะเป็นดินแดนแห่งหนึ่งที่ขอมใช้เป็นเส้นทางไปมาระหว่างเมืองประเทศราชดังกล่าวแล้ว เพราะปรากฏโบราณสถานโบราณวัตถุของขอมซึ่งกรมศิลปากรสำรวจในจังหวัดศรีสะเกษ 
แผนที่อำเภอขุขันธ์

มื่อ พ.ศ. 2512 จำนวน 15 แห่ง ไม่รวมเขาพระวิหารซึ่งเป็นเทวะสถานของขอมที่ยิ่งใหญ่แห่งหนึ่ง นอกจากนี้ยังมีปราสาทหินสระกำแพงใหญ่สระกำแพงน้อย ปราสาทลุมพุก ปราสาทบ้านทามจาน(บ้านสมอ)ปราสาทเยอ ปราสาทโดนต็วล (ช่องตาเฒ่า อ.กันทรลักษ์) สันนิษฐานว่าโบราณสถานเหล่านี้มีอายุประมาณ 1,000 ปีเศษมีอยู่ตามท้องที่อำเภอต่างๆ ของจังหวัดศรีสะเกษ ขอมคงสร้างขึ้นเพื่อเป็นที่พักและประกอบพิธีทางศาสนาระหว่างเดินทางจากนครวัด นครธมข้ามเทือกเขาพนมดงรักษ์มาสู่ศูนย์กลางการปกครองภาคอีสานทั้ง 3 เมืองดังกล่าวแล้ว
เมื่อขอมเสื่อมอำนาจลงไทยเริ่มมีอำนาจครอบครองดินแดนเหล่านี้ขณะเดียวกันอำเภอขุขันธ์มีสภาพเป็นป่าดงอยู่นานเพราะแม้แต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนกลางก็มิได้บันทึกกล่าวถึงเมืองขุขันธ์ในเอกสารใด เพิ่งจะได้มีการบันทึกหลักฐานในพงศาวดารกล่าวถึงเมืองสุรินทร์ด้วย


แบบทดสอบวิชาประวัติศาสตร์